นับเป็นห้วงเวลาที่ยากจะทำใจ เมื่อคนไทยต้องสูญเสียพระเจ้าอยู่รัชกาลรัชกาลที่ 8 ผู้ทรงงามทั้งพระสิริโฉม งามทั้งพระราชจริยวัตร และยังทรงเป็น “ความหวัง” อันสดใส ด้วยทรงริเริ่มปฏิบัติพระราชภารกิจอย่าง “พระเจ้าแผ่นดินยุคใหม่” เสด็จฯ เยี่ยมเยียนพสกนิกรอย่างใกล้ชิด โดยมีพระอนุชาธิราชทรงร่วมปฏิบัติพระราชภารกิจอย่างเข้มแข็ง
เมื่อมาเสด็จสู่สวรรคาลัยรวดเร็วเช่นนี้ ความหวังอันเรืองรองที่ฉายโชนอยู่ในใจคนไทยก็ดูคล้ายจะดับวูบไปชั่วขณะและนี่คือพระราชดำรัสปลุกปลอบ ที่กลายเป็นเปลวเทียนจุดสว่างกลางความมืดมนในใจราษฎร
“พระเจ้าอยู่หัวยังอยู่ พระอนุชาต่างหากที่ไม่มีแล้ว”
น้ำพระทัยผ่านมา
ที่หมู่บ้านชำเมย อำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก ผู้เสด็จท่านหนึ่งเล่าว่ามีป้ายเล็กๆฝีมือคนในหมู่บ้านเขียนติดไว้ข้างทาง ข้อความบนป้ายนั้นมีอยู่ว่า “น้ำแล้งผ่านไป เมื่อน้ำพระทัยผ่านมา”
24 ชั่วโมง
“...เพื่อนฝรั่งผมเคยถามว่า ทำไมคนไทยจึงได้รักในหลวงมาก ผมเอาภาพถ่ายต่างๆให้เขาดู แล้วบอกว่า King ของเราทรงทำงานเหนื่อยเพื่อคนไทยทั้งชีวิต อะไรที่ทำเพื่อประชาชนคนไทย พระองค์ท่านทรงทำหมด ไม่ว่าคนไทยจะอยู่ส่วนไหนของประเทศ พระองค์ไปถึงหมด แล้วผมก็เอาภาพพระราชวังให้ดู แล้วบอกเขาว่า เห็นไหม พระราชวังที่ท่านอยู่ไม่เหมือนที่อื่นเลย พระองค์อยู่เช่นสามัญชน ทรงทำงานตลอด 24 ชั่วโมง
ผมถามเขาว่า ชีวิตคุณเคยมีใครไหมที่ทำอะไรเพื่อคุณได้ตลอด 24 ชั่วโมง... ”
ตัดสินใจได้
“...ตอนเกิดเหตุการณ์สึนามิที่ภาคใต้ เราเองอยู่ที่กรุงเทพฯ ตั้งใจจะแค่ส่งกำลังใจไปช่วยและบริจาคเงินเท่านั้น แต่พอทราบข่าวว่า ในหลวงท่านทรงห่วงใยผู้ได้รับเคราะห์ถึงขั้นลงมากำกับการส่งสิ่งของพระราชทานด้วยพระองค์เอง เราถึงกับน้ำตาคลอเลย
คืนนั้น ตัดสินใจเก็บผ้าใส่กระเป๋า ลงไปเป็นอาสาสมัครช่วยผู้ประสบภัยทันที..”
ราษฎรยังอยู่ได้
พ.ศ. 2513 เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชประสงค์ที่จะเสด็จพระราชดำเนินไปเยี่ยมราษฎรในตำบลหนึ่งของอำเภอเมืองพัทลุง อันเป็นแหล่งที่ผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ปฏิบัติการรุนแรงที่สุดในภาคใต้เวลานั้น
ด้วยความห่วงใยอย่างยิ่งล้น ทางกระทรวงมหาไทยได้กราบบังคมทูลขอให้ทรงรอให้สถานการณ์ดีขึ้นกว่าที่เป็นอยู่เสียก่อน แต่คำตอบที่ทางกระทรวงมหาดไทยได้รับก็คือ
“ราษฎรเขาเสี่ยงภัยกว่าเราหลายเท่า เพราะเขาต้องกินอยู่ที่นั่นเขายังอยู่ได้ แล้วเราจะขลาดแม้แต่จะไปเยี่ยมเยียนทุกข์สุขของเขาเชียวหรือ”
ทิ้งได้อย่างไร
19 สิงหาคม 2489 หลังจากทรงรับอัญเชิญขึ้นครองราชย์ได้สองเดือนเศษ ก็ต้องทรงอำลาประเทศไทยเพื่อเสด็จพระราชดำเนินไปเรียนต่อ ณ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
ขณะที่รถยนต์พระที่นั่งแล่นจากพระบรมมหาราชวัง ผ่านถนนราชดำเนินกลาง มุ่งสู่สนามบินดอนเมือง ท่ามกลางประชาชนชาวไทยที่มาส่งเสด็จสองข้างทาง
อาจด้วยอารมณ์อ้างว้างและใจหาย ผลักดันให้ชายคนหนึ่งในหมู่พสกนิกรร้องตะโกนขึ้นมาขณะที่รถพระที่นั่งแล่นผ่านว่า
“อย่าละทิ้งประชาชน !”
ไม่มีใครรู้ความในพระราชหฤทัยที่มีต่อเสียงร้องนั้น จนเมื่อได้พระราชทานพระราชนิพนธ์
“เมื่อข้าพเจ้าจากสยามมาสู่สวิตเซอร์แลนด์” ลงตีพิมพ์ในหนังสือ “วงวรรณคดี” อีกหลายเดือนต่อมาว่า
“...อยากจะร้องบอกเขาลงไปว่า ถ้าประชาชนไม่ทิ้งข้าพเจ้าแล้ว ข้าพเจ้าจะทิ้งได้อย่างไร...”
ความในพระราชหฤทัยที่มีต่อประชาชนนี้ บัดนี้มีอายุถึงหกสิบปีแล้ว แต่ยังมีคนไทยผู้ใดลืมได้ลง
ของมีค่าหายาก
ในปี พ.ศ.2498 เมื่อชาวอีสานทราบข่าวดีว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถจะเสด็จฯ เยี่ยมอีสานเป็นเวลายาวนานถึง 19 วัน ระหว่างวันที่ 2-20 พฤศจิกายน 2498 จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่าชาวอีสานจะรู้สึกตื่นเต้นดีใจเพียงใด
เพราะอีสานเวลานั้นแห้งแล้งเหลือแสน ยังไม่มีอ่างเก็บน้ำชลประทานดังเช่นปัจจุบัน เส้นทางรถยนต์ในยุคนั้นก็ยังเป็นดินแดงๆทุรกันดาร น้ำพระราชหฤทัยที่แสดงออกด้วยการเจาะจงเสด็จฯ เยี่ยมอีสาน จึงเป็นเสมือนน้ำฝนฉ่ำที่หยาดลงมาบนผืนดินที่แห้งผาก
ยังไม่ทันที่พระองค์จะเสด็จฯ มาถึง น้ำพระทัยที่เย็นดุจสายฝนหยดแรกก็หยาดนำทางลงมาเสียแล้ว เมื่อมีข่าวว่า กรมทางหลวงเตรียมนำ “น้ำ” มาราดถนนทางเสด็จพระราชดำเนินเพื่อมิให้ถนนเกิดฝุ่นแดงคลุ้งเมื่อรถพระที่นั่งแล่นผ่าน
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชกระแสรับสั่งห้ามว่า ไม่ให้นำน้ำซึ่งเป็นของที่มีค่าหายากมาราดถนนรับเสด็จ แต่ให้สงวนน้ำไว้ให้ราษฎรใช้อาบกิน
ที่หมู่บ้านชำเมย อำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก ผู้เสด็จท่านหนึ่งเล่าว่ามีป้ายเล็กๆฝีมือคนในหมู่บ้านเขียนติดไว้ข้างทาง ข้อความบนป้ายนั้นมีอยู่ว่า “น้ำแล้งผ่านไป เมื่อน้ำพระทัยผ่านมา”
24 ชั่วโมง
“...เพื่อนฝรั่งผมเคยถามว่า ทำไมคนไทยจึงได้รักในหลวงมาก ผมเอาภาพถ่ายต่างๆให้เขาดู แล้วบอกว่า King ของเราทรงทำงานเหนื่อยเพื่อคนไทยทั้งชีวิต อะไรที่ทำเพื่อประชาชนคนไทย พระองค์ท่านทรงทำหมด ไม่ว่าคนไทยจะอยู่ส่วนไหนของประเทศ พระองค์ไปถึงหมด แล้วผมก็เอาภาพพระราชวังให้ดู แล้วบอกเขาว่า เห็นไหม พระราชวังที่ท่านอยู่ไม่เหมือนที่อื่นเลย พระองค์อยู่เช่นสามัญชน ทรงทำงานตลอด 24 ชั่วโมง
ผมถามเขาว่า ชีวิตคุณเคยมีใครไหมที่ทำอะไรเพื่อคุณได้ตลอด 24 ชั่วโมง... ”
ตัดสินใจได้
“...ตอนเกิดเหตุการณ์สึนามิที่ภาคใต้ เราเองอยู่ที่กรุงเทพฯ ตั้งใจจะแค่ส่งกำลังใจไปช่วยและบริจาคเงินเท่านั้น แต่พอทราบข่าวว่า ในหลวงท่านทรงห่วงใยผู้ได้รับเคราะห์ถึงขั้นลงมากำกับการส่งสิ่งของพระราชทานด้วยพระองค์เอง เราถึงกับน้ำตาคลอเลย
คืนนั้น ตัดสินใจเก็บผ้าใส่กระเป๋า ลงไปเป็นอาสาสมัครช่วยผู้ประสบภัยทันที..”
ราษฎรยังอยู่ได้
พ.ศ. 2513 เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชประสงค์ที่จะเสด็จพระราชดำเนินไปเยี่ยมราษฎรในตำบลหนึ่งของอำเภอเมืองพัทลุง อันเป็นแหล่งที่ผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ปฏิบัติการรุนแรงที่สุดในภาคใต้เวลานั้น
ด้วยความห่วงใยอย่างยิ่งล้น ทางกระทรวงมหาไทยได้กราบบังคมทูลขอให้ทรงรอให้สถานการณ์ดีขึ้นกว่าที่เป็นอยู่เสียก่อน แต่คำตอบที่ทางกระทรวงมหาดไทยได้รับก็คือ
“ราษฎรเขาเสี่ยงภัยกว่าเราหลายเท่า เพราะเขาต้องกินอยู่ที่นั่นเขายังอยู่ได้ แล้วเราจะขลาดแม้แต่จะไปเยี่ยมเยียนทุกข์สุขของเขาเชียวหรือ”
ทิ้งได้อย่างไร
19 สิงหาคม 2489 หลังจากทรงรับอัญเชิญขึ้นครองราชย์ได้สองเดือนเศษ ก็ต้องทรงอำลาประเทศไทยเพื่อเสด็จพระราชดำเนินไปเรียนต่อ ณ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
ขณะที่รถยนต์พระที่นั่งแล่นจากพระบรมมหาราชวัง ผ่านถนนราชดำเนินกลาง มุ่งสู่สนามบินดอนเมือง ท่ามกลางประชาชนชาวไทยที่มาส่งเสด็จสองข้างทาง
อาจด้วยอารมณ์อ้างว้างและใจหาย ผลักดันให้ชายคนหนึ่งในหมู่พสกนิกรร้องตะโกนขึ้นมาขณะที่รถพระที่นั่งแล่นผ่านว่า
“อย่าละทิ้งประชาชน !”
ไม่มีใครรู้ความในพระราชหฤทัยที่มีต่อเสียงร้องนั้น จนเมื่อได้พระราชทานพระราชนิพนธ์
“เมื่อข้าพเจ้าจากสยามมาสู่สวิตเซอร์แลนด์” ลงตีพิมพ์ในหนังสือ “วงวรรณคดี” อีกหลายเดือนต่อมาว่า
“...อยากจะร้องบอกเขาลงไปว่า ถ้าประชาชนไม่ทิ้งข้าพเจ้าแล้ว ข้าพเจ้าจะทิ้งได้อย่างไร...”
ความในพระราชหฤทัยที่มีต่อประชาชนนี้ บัดนี้มีอายุถึงหกสิบปีแล้ว แต่ยังมีคนไทยผู้ใดลืมได้ลง
ของมีค่าหายาก
ในปี พ.ศ.2498 เมื่อชาวอีสานทราบข่าวดีว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถจะเสด็จฯ เยี่ยมอีสานเป็นเวลายาวนานถึง 19 วัน ระหว่างวันที่ 2-20 พฤศจิกายน 2498 จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่าชาวอีสานจะรู้สึกตื่นเต้นดีใจเพียงใด
เพราะอีสานเวลานั้นแห้งแล้งเหลือแสน ยังไม่มีอ่างเก็บน้ำชลประทานดังเช่นปัจจุบัน เส้นทางรถยนต์ในยุคนั้นก็ยังเป็นดินแดงๆทุรกันดาร น้ำพระราชหฤทัยที่แสดงออกด้วยการเจาะจงเสด็จฯ เยี่ยมอีสาน จึงเป็นเสมือนน้ำฝนฉ่ำที่หยาดลงมาบนผืนดินที่แห้งผาก
ยังไม่ทันที่พระองค์จะเสด็จฯ มาถึง น้ำพระทัยที่เย็นดุจสายฝนหยดแรกก็หยาดนำทางลงมาเสียแล้ว เมื่อมีข่าวว่า กรมทางหลวงเตรียมนำ “น้ำ” มาราดถนนทางเสด็จพระราชดำเนินเพื่อมิให้ถนนเกิดฝุ่นแดงคลุ้งเมื่อรถพระที่นั่งแล่นผ่าน
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชกระแสรับสั่งห้ามว่า ไม่ให้นำน้ำซึ่งเป็นของที่มีค่าหายากมาราดถนนรับเสด็จ แต่ให้สงวนน้ำไว้ให้ราษฎรใช้อาบกิน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น