วันพฤหัสบดีที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

เวนิส เมืองแห่งน้ำ


เวนิส (อังกฤษ: Venice) หรือ เวเนเซีย (อิตาลี: Venezia) เป็นเมืองหลวงของแคว้นเวเนโต ประเทศอิตาลี มีประชากร 271,663 คน (ข้อมูลวันที่ 1 มกราคม 2547) เมืองเวนิสได้รับฉายาว่า ราชินีแห่งทะเลอาเดรียตริก (Queen of the Adriatic), เมืองแห่งสายน้ำ (City of Water), เมืองแห่งสะพาน (City of Bridges), และ เมืองแห่งแสงสว่าง (The City of Light)
เมืองเวนิสถูกสร้างขึ้นจากการเชื่อมเกาะเล็กๆ จำนวนมากเข้าด้วยกันในบริเวณ
ทะเลสาบเวนิเทีย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของทะเลอาเดรียตริก ในภาคเหนือของประเทศอิตาลี ทะเลสาบน้ำเค็มนี้ตั้งอยู่บริเวณชายฝั่งระหว่างปากแม่น้ำโปกับแม่น้ำพลาวิ มีผู้อยู่อาศัยโดยประมาณ 272,000 คน ซึ่งนับรวมหมดทั้งเวนิส โดยมี 62,000 คนในบริเวณเมืองเก่า 176,000 คนในเทอร์ราเฟอร์มา (Terraferma) และ 31,000 คนในเกาะอื่นๆ ในทะเลสาบ

สิ่งมหัศจรรย์ของโลก มาชูปิกชู


มาชูปิกชู คาดวา่สร้างขึ้นราวปี ค.ศ. 1450 โดยจักรพรรดิปาชากูตีของชางอินคา มาชูปิกชู ถูกปล่อยทิ้งไว้นับร้อยปี จนกระทั่งชาวสเปนได้ชัยชนะเหนือเปรูใน ค.ศ.1572 และพวกเขาได้รับทราบเรื่องราว และข้อมูลเกี่ยวกับ มาชู ปิกชู มาก่อน แต่ก็ไม่ได้แตะต้องมัน จนกระทั่งนักโบราณคดีได้ค้นพบมันอีกครั้ง และเปิดเผยต่อโลกให้ได้รับรู้ มีหลายทฤษฏีเกี่ยวกับการสร้าง มาชู ปิกชู ขึ้นเช่น บ้างว่าก็เป็นการสร้างเพื่อถวายต่อเทพเจ้า บ้างก็ว่าสร้างขึ้นเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยของจักรพรรดิและชาวเมืองอินคา บางทฤษฏีก็กล่าวว่าอาจสร้างขึ้นเพื่อทดลองทางการเกษตรกรรม ในปี ค.ศ 1983 มาลูปิกชู ได้ถูกกำหนดให้เป็น มรกดกโลก และในปี 2007 ยังถูกโหวตให้เป็นหนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลก อีกด้วย
มาชูปิกชูตั้งอยู่ห่างจากเมืองกุสโกไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 70 กิโลเมตรบนยอดของทิวเขามาชูปิกชู ที่ระดับ 2,350 เมตรจากระดับน้ำทะเล สถานที่แห่งนี้นับเป็นศูนย์กลางที่มีความสำคัญยิ่งทางโบราณคดีของอเมริกาใต้ และเป็นตัวดึงดูดนักท่องเที่ยวเกือบทุกคนที่มาเยือนประเทศเปรู
จากยอดเขา ณ หน้าผามาชูปิกชู เป็นหน้าผาที่มีลักษณะดิ่งชันสูงถึง 600 เมตรจากฐานที่เป็นแม่น้ำคือ
แม่น้ำอารูบัมบา ที่ตั้งของตัวเมืองนับเป็นความลับทางการทหารก็เนื่องจากการเป็นหน้าผาสูงชันที่มีอันตรายที่เป็นปราการป้องกันธรรมชาติอันยอดเยี่ยมนั่นเอง
ในปี พ.ศ. 2546 มีผู้คนประมาณ 400,000 คน ไปท่องเที่ยวที่มาชูปิกชู และยูเนสโกได้ส่งข้อความสารแสดงถึงความเสียหายจากนักท่องเที่ยวที่ไปเป็นจำนวนมาก แต่ทางผู้มีอำนาจของทางเปรูบอกว่าเรื่องนั้นไม่ใช่ปัญหา แต่ถึงอย่างไรการคัดค้านนั้นทำให้มีการเรียกเก็บเงินจากผู้ที่ไปเที่ยวชมและจำกัดจำนวนผู้เช้าชม และได้มีการเสนอให้ติดตั้ง
รถกระเช้า แต่ข้อเสนอนี้ถูกปฏิเสธอยู่ตลอดและดูไม่มีทางจะเป็นไปได้ทุกที

สิ่งมหัศจรรย์ของโลก ชิเซนอิตซา


เป็นแหล่งโบราณคดีขนาดใหญ่ที่สร้างขึ้นโดยชาวมายาในเขตวัฒนธรรมเมโสอเมริกัน ตั้งอยู่ในคาบสมุทรยูกาตัง รัฐยูกาตัง ทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศเม็กซิโก ชีเชนอิตซาเป็นส่วนหนึ่งของเมืองจำนวนมากมายซึ่งพวกมายาได้สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์ของเทพเจ้าผู้ทรงกระหายพระโลหิต
ลักษณะโดยทั่วไปของชีเชนอิตซา ทำเป็นรูปเหลี่ยมลดขั้นเป็นชั้น ๆ บนเนื้อที่ราว 6.4 ตารางกิโลเมตร มีบันไดกลาง วิหารที่ใหญ่สุดมีชื่อว่า วิหารแห่งนักรบ สร้างขึ้นใน
คริสต์ศตวรรษที่ 12 หลังจากสร้างวิหารเก่าแห่งชักโมล ตรงกลางสร้างเป็นปราสาทเหลี่ยมทึบสูงขึ้นไป ใช้เป็นที่ทำพิธีสังเวยเทพเจ้าโดยใช้เด็กสาวโยนลงไปถวายเทพเจ้า ณ ที่นั้น รอบ ๆ ห่างออกมาทำเป็นบริเวณตลาดทำนองเดียวกับสถานสถิตยุติธรรมของพวกโรมัน ซึ่งอยู่กลางเมืองที่สาธารณะและเป็นที่รวมของฝูงชน
ชนเผ่ามายาแห่งเม็กซิโกสืบสายมาจากคนพวกแรกที่เดินทางจาก
ทวีปเอเชียเข้ามายังทวีปอเมริกาทางช่องแคบเบริง ได้มีการพัฒนาทางวัฒนธรรมทั้งในด้านเหี้ยมโหดอันป่าเถื่อนและความมีสติปัญญาอันสูงส่งในขณะเดียวกัน
พวกมายาฝึกความเสียสละด้านมนุษยชาติ ควักหัวใจผู้ที่รับการบูชาออกสังเวยพระเจ้า ขณะเดียวกันก็มีการพัฒนาความรู้ด้าน
ดาราศาสตร์ ศิลปะของสถาปัตยกรรม ทางอักษรศาสตร์ ด้านการเขียนบันทึกด้วยตัวอักษรพิเศษ และการค้นพบค่าของเลข 0 ทางคณิตศาสตร์ แต่ก็น่าแปลกที่พวกเขามิได้ค้นพบประโยชน์อันเกิดจากล้อเลื่อน
ศูนย์กลางของอารยธรรมของคนพวกนี้อยู่ที่ชีเชนอิตซา ใน
คาบสมุทรยูกาตัง ผู้ค้นพบ ขุมอารยธรรมเหล่านี้แล้วนำออกมาเผยแพร่ให้ชาวโลกได้ทราบคือ นายทอมป์สัน ชาวอเมริกัน ผู้ใช้ชีวิตซอกซอนท่องเที่ยวไปในหมู่พวกมายาด้วยความสนใจจะศึกษาสิ่งลึกลับต่าง ๆ
บางทีอาจกล่าวได้ว่าพวกมายาจะเป็นต้นตำรับของพวกบูชาความสงบที่ต้องการศาสนารุนแรง นองเลือด หลังจากที่เคยพ่ายแพ้พวกชนเผ่าตอลเต็ก ซึ่งอยู่ตอนกลางของเม็กซิโก ในท้ายที่สุด พวกมายาก็ตกอยู่ใต้อำนาจของผู้ที่นิยมความรุนแรงที่เหนือกว่า ในเมื่อผู้ชนะที่กระหายเลือด โลภที่จะได้
ทองและทรัพย์สมบัติของพวกมายาอย่างเต็มที่

ไวโอลิน


ไวโอลิน
ไวโอลิน คือเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายในตระกูลไวโอลิน (Violin Family) ซึ่งมีทั้งหมด 4 ชนิด คือ ไวโอลิน วิโอลา เชลโล และดับเบิลเบส ไวโอลินเป็นเครื่องดนตรีที่ขนาดเล็กที่สุด เครื่องดนตรีในตระกูลไวโอลินเป็นเครื่องดนตรีหลักที่ใช้ในวงออร์เคสตร้า ปกติจะเล่นโดยใช้คันชักสีที่สาย แต่บางครั้งก็จะใช้นิ้วดีดที่สาย เพื่อให้เกิดเสียงสั้นยาวตามต้องการ ในวงดนตรีประเภทออร์เคสตร้าไวโอลินจะเป็นกลุ่มเครื่องดนตรีที่มีจำนวนมาก ไวโอลินสามารถนำไปใช้บรรเลงในวงดนตรีประเภทอื่นๆได้เช่นกัน เช่น ดนตรีแจ๊ส ดนตรีบลูส์ ดนตรีป๊อปปูล่า หรือดนตรีร็อก เป็นต้น

ดนตรีตะวันตก สมัยรีเนซองส์




สมัยรีเนซองส์ คำว่า “Renaissance” แปลว่า “ การเกิดใหม่” (Re-birth) ซึ่งหมายถึงช่วงเวลาที่ปัญญาชนในยุโรปได้หันความสนใจจากกิจการฝ่ายศาสนาที่ได้ปฏิบัติมาอย่างเคร่งครัดตลอดสมัยกลาง มาสู่การฟื้นฟูศิลปวิทยา ซึ่งมีแนวความคิดอ่านและวัฒนธรรมตามแบบกรีก และโรมันโบราณ สมัยแห่งการฟื้นฟูศิลปวิทยานี้
ได้เริ่มขึ้นครั้งแรกตามหัวเมืองภาคเหนือของแหลมอิตาลี โดยได้เริ่มขซ์ ภาพ The Birth of Venus ก่อนแล้วจึงแพร่ไปยังเวนิชปิสา เจนัว จนทั่วแคว้นทัสคานีและลอมบาร์ดี จากนั้นจึงแพร่ไปทั่วแหลมอิตาลีแล้วขยายตัวเข้าไปในฝรั่งเศส เยอรมนี เบลเยี่ยม เนเธอร์แลนด์ และอังกฤษ ลักษณะของดนตรีในสมัยนี้ยังคงมีรูปแบบคล้ายในสมัยศิลป์ใหม่ แต่ได้มีการปรับปรุงพัฒนารูปแบบมากขึ้น

ลักษณะการสอดประสานทำนอง ยังคงเป็นลักษณะเด่น เพลงร้องยังคงนิยมกัน แต่เพลงบรรเลงเริ่มมี บทบาทมากขึ้น ในช่วงศตวรรษที่ 15 และ 16 รูปแบบของดนตรีมีความแตกต่างกันดังนี้
1. สมัยศตวรรษที่ 15 ประชาชนทั่วไปได้หลุดพ้นจากการปกครองระบอบศักดินา (Feudalism) มนุษยนิยม (Humanism) ได้กลายเป็นลัทธิสำคัญทางปรัชญา ศิลปินผู้มีชื่อเสียง คือ ลอเร็นโซ กิแบร์ตี โดนาเต็ลโล เลโอนาร์โด ดา วินชิ ฯลฯ เพลงมักจะมี 3 แนว
โดยแนวบนสุดจะมีลักษณะน่าสนใจกว่าแนวอื่น ๆ เพลงที่ประกอบด้วยเสียง 4 แนว ในลักษณะของโซปราโน อัลโต เทเนอร์ เบส เริ่มนิยมประพันธ์กันซึ่งเป็นรากฐานของการประสานเสียง 4 แนว ในสมัยต่อ ๆ มา เพลงโบสถ์จำพวกแมสซึ่งพัฒนามาจากแชนท์มีการประพันธ์กันเช่นเดียวกับในสมัยกลาง เพลงโมเต็ตยังมีรูปแบบคล้ายสมัยศิลป์ใหม่ ในระยะนี้เพลงคฤหัสถ์เริ่มมีการสอดประสานเกิดขึ้น คือ เพลงประเภท ซังซอง แบบสอดประสาน (Polyphonic chanson)

ซึ่งมีแนวทำนองเด่น 1 แนว และมีแนวอื่นสอดประสานแบบล้อกัน (Imitative style) ซึ่งมีแนวโน้มเป็นลักษณะของการใส่เสียงประสาน(Homophony) ลักษณะล้อกันแบบนี้เป็นลักษณะสำคัญของเพลงในสมัยนี้ นอกจากนี้มีการนำรูปแบบของโมเต็ตมาประพันธ์เป็นเพลงแมสและการนำหลักของแคนนอนมาใช้ในเพลงแมสด้วย
2. สมัยศตวรรษที่ 16 มนุษยนิยมยังคงเป็นลัทธิสำคัญทางปรัชญา
การปฏิรูปทางศาสนาและการต่อต้านการปฏิรูปทางศาสนาของพวกคาทอลิกเป็นเหตุการณ์สำคัญยิ่งของคริสต์ศาสนาเพลงร้อง แบบสอดประสานทำนองพัฒนาจนมีความสมบูรณ์แบบเพลงร้องยังคงเป็นลักษณะเด่น แต่เพลงบรรเลงก็เริ่มนิยมกันมากขึ้น เพลงโบสถ์ยังมีอิทธิพลจากเพลงโบสถ์ของโรมัน แต่ก็มีเพลงโบสถ์ของนิกายโปรแตสแตนท์เกิดขึ้น การประสานเสียงเริ่มมีหลักเกณฑ์มากขึ้น การใช้การประสานเสียงสลับกับการล้อกันของทำนองเป็นลักษณะหนึ่งของเพลงในสมัยนี้ การแต่งเพลงแมสและโมเต็ต นำหลักของการล้อกันของทำนองมาใช้แต่เป็นแบบฟิวก์ (Fugue) ซึ่งพัฒนามาจากแคนนอน คือ การล้อของทำนองที่มีการแบ่งเป็นส่วน ๆ ที่สลับซับซ้อนมีหลักเกณฑ์มากขึ้นในสมัยนี้มีการปฏิวัติทางดนตรีเกิดขึ้นในเยอรมัน ซึ่งเป็นเรื่องของความขัดแย้ง
ทางศาสนากับพวกโรมันแคธอลิก จึงมีการแต่งเพลงขึ้นมาใหม่โดยใช้ กฏเกณฑ์ใหม่ด้วยเพลงที่เกิดขึ้นมาใหม่เป็นเพลงสวดที่เรียกว่า “ โคราล” (Chorale) ซึ่งเป็นเพลงที่นำมาจากแชนท์แต่ใส่อัตราจังหวะเข้าไป นอกจากนี้ยังเป็นเพลงที่นำมาจากเพลงคฤหัสถ์โดย ใส่เนื้อเป็นเรื่องศาสนาและเป็นเพลงที่แต่งขึ้นใหม่ด้วย เพลงในสมัยนี้เริ่มมีอัตราจังหวะแน่นอน เพลงคฤหัสถ์มีการพัฒนาทั้งใช้ผู้ร้องและการบรรเลง กล่าวได้ว่าดนตรีในศตวรรษนี้มีรูปแบบ ใหม่ ๆ เกิดขึ้นและหลักการต่าง ๆ มีแบบแผนมากขึ้น ในสมัยนี้มนุษย์เริ่มเห็นความสำคัญของดนตรีมาก โดยถือว่าดนตรีเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต นอกจากจะให้ดนตรีในศาสนาสืบเนื่องมาจากสมัยกลาง (Middle Ages) แล้วยังต้องการดนตรีของคฤหัสถ์ (Secular Music) เพื่อพักผ่อนในยามว่าง เพราะฉะนั้นในสมัยนี้ดนตรีของคฤหัสถ์ (Secular Music) และดนตรีศาสนา (Sacred Music) มีความสำคัญเท่ากัน สรุป ลักษณะบทเพลงในสมัยนี้ 1. บทร้องใช้โพลีโฟนี (Polyphony) ส่วนใหญ่ใช้ 3-4 แนว ในศตวรรษที่ 16 ได้ชื่อว่า “The Golden Age of Polyphony”2. มีการพัฒนา Rhythm ในแบบ Duple time และ Triple time ขึ้น3. การประสานเสียงใช้คู่ 3 ตลอด และเป็นสมัยสุดท้ายที่มีรูปแบบของขับร้องและบรรเลงเหมือนกัน

โลกร้อน


ภาวะโลกร้อน Global Warming
ภาวะโลกร้อน หมายถึง การที่อุณหภูมิเฉลี่ยของอากาศบนโลกสูงขึ้น ไม่ว่าจะเป็นอากาศบริเวณใกล้ผิวโลกและน้ำในมหาสมุทร ในช่วง 100 ปีที่ผ่านมาอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกสูงขึ้นถึง 0.74 ± 0.18 องศาเซลเซียส และจากแบบจำลองการคาดคะเนภูมิอากาศพบว่าในปี พ.ศ. 2544 – 2643 อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกจะเพิ่มขึ้นถึง 1.1 ถึง 6.4 องศาเซลเซียส
สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อนก็เพราะว่าก๊าซ
เรือนกระจกที่เพิ่มขึ้นจากการทำกิจกรรมต่างๆของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นการเผาผลาญถ่านหินและเชื้อเพลิง รวมไปถึงสารเคมีที่มีส่วนผสมของก๊าซเรือนกระจกที่มนุษย์ใช้ และอื่นๆอีกมากมาย จึงทำให้ก๊าซเรือนกระจกเหล่านี้ลอยขึ้นไปรวมตัวกันอยู่บนชั้นบรรยากาศของโลก ทำให้รังสีของดวงอาทิตย์ที่ควรจะสะท้อนกลับออกไปในปริมาณที่เหมาะสม กลับถูกก๊าซเรือนกระจกเหล่านี้กักเก็บไว้ ทำให้อุณหภูมิของโลกค่อยๆสูงขึ้นจากเดิม
ผลกระทบของภาวะโลกร้อนนั้นก็มีให้เราเห็นกันอยู่บ่อยๆ สภาพลมฟ้าอากาศที่ผิดแปลกไปจากเดิม ภัยธรรมชาติที่รุนแรงมากขึ้น น้ำท่วม แผ่นดินไหว พายุที่รุนแรง อากาศที่ร้อนผิดปกติจนมีคนเสียชีวิต รวมไปถึงโรคระบาดชนิดใหม่ๆ หรือโรคระบาดที่เคยหายไปจากโลกนี้แล้วก็กลับมาให้เราได้เห็นใหม่ และ
พาหะนำโรคที่เพิ่มจำนวนมากขึ้น
ในอนาคตคาดว่าผลกระทบของภาวะโลกร้อนจะรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ เราสามารถช่วยกัน
ลดภาวะโลกร้อนได้หลายวิธี หลักๆก็เห็นจะเป็นการใช้พลังงานอย่างคุ้มค่าและประหยัด เพราะว่าพลังงานที่พวกเราใช้กันอยู่ทุกวันนี้กว่าจะมาถึงให้เราได้ใช้นั้น ต้องผ่านกระบวนการขั้นตอนในการผลิตมากมาย และแต่ละขั้นตอนก็จะทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจกขึ้นมา เพราะฉะนั้นการลดใช้พลังงานก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยลดภาวะโลกร้อนได้ เช่น การปิดไฟเมื่อไม่ได้ใช้ การใช้น้ำอย่างประหยัด การใช้จักรยานแทนรถยนต์ในการเดินทางใกล้ๆ และอื่นๆอีกมากมาย
การปลูกต้นไม้ก็เป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยลดภาวะโลกร้อนได้ อย่างที่เรารู้กันดีว่าในเวลากลางวัน ต้นไม้นั้นจะช่วยหายใจเอาก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เข้าไป และหายใจออกมาเป็นก๊าซออกซิเจน เปรียบเสมือนเครื่องฟอกอากาศให้กับโลกของเราโดยแท้ แต่ทว่าปัจจุบันป่าไม้ถูกทำลายและมีจำนวนลดลงไปอย่างมาก ฉะนั้นถ้าเราทุกคนช่วยกันปลูกต้นไม้ ก็เหมือนกับช่วยเพิ่มเครื่องฟอกอากาศให้กับโลกของเรา