วันอังคารที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552


+-+ต้นไม้ประจำจังหวัดนครปฐม+-+

ต้นจันทน์หอม
ชื่อพันธุ์ไม้: จันทน์หอม

ชื่อวิทยาศาสตร์: Mansonia gagei Drumm. วงศ์: STERCULIACEAE

ชื่ออื่น: จันทน์ จันทน์ชะมด จันทน์ขาว จันทน์พม่าถิ่นกำเนิด: ป่าดิบแล้งทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ และภาคตะวันตกเฉียงใต้ที่สูงจากระดับ น้ำทะเล 200 – 400 ซ.ม.รูปร่างลักษณะ: เป็นไม้ต้นขนาดใหญ่ ผลัดใบ สูงประมาณ 10 - 20 เมตร - เปลือก ค่อนข้างเรียบสีเทาอมขาว เรือนยอดเป็นพุ่มค่อนข้างโปร่ง - ใบ เดี่ยว เรียงสลับ แผ่นใบรูปรี แกมรูปขอบขนานหรือแกมรูปไข่กลับ กว้าง 3-6 ซม. ยาว 8-14 ซม. ปลายใบแหลมโคนใบเว้า เบี้ยวเล็กน้อย ขอบใบเป็นคลื่นห่าง ๆ - ดอก เล็กสีขาวออกรวมกันเป็นช่อสั้น ๆ ตามปลาย กิ่งและตามง่ามใบ ออกดอกราว เดือนสิงหาคม - ตุลาคม - ผล รูปกระสวย กว้าง 0.5 - 0.7 ซม. ยาว 1 - 1.5 ซม. มีปีกรูปทรงสามเหลี่ยม หนึ่ง ปีกกว้าง 1 - 1.5 ซม. ยาว 2.5 - 3 ซม. ผลจะแก่ ธันวาคม - มกราคมสภาพที่เหมาะสม: สภาพดินแทบทุกชนิด แสงแดดจัด ชอบขึ้นตามดินแถบเขาหินปูน ขึ้น ในป่าดิบแล้ง ชอบขึ้นทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ และภาคตะวันตกเฉียงใต้ที่สูงจาก ระดับน้ำทะเล 200 - 400 เมตรการขยายพันธุ์: โดยการเพาะเมล็ด ประโยชน์: - เนื้อไม้ กระพี้ สีขาว แก่นสีน้ำตาลเข้ม ใช้ทำหีบใส่เสื้อผ้า เครื่องกลึง เครื่อง แกะสลัก ทำหวี ดอกไม้จันทน์ ธูป น้ำมัน - ไม้ที่ตายเองจะมีกลิ่นหอม หอมที่ได้จากการกลั่นชิ้นไม้ ใช้ปรุงเครื่องหอม และเครื่อง สำอาง ใช้เป็นยาบำรุงหัวใจ - เนื้อไม้ใช้เป็นยาแก้ไข้ แก้กระหายน้ำและอ่อนเพลีย

****************************

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น