วันอาทิตย์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2553

วิกฤตการณ์การเมืองในประเทศไทย พ.ศ. 2548-2553

*-*วิกฤตการณ์การเมืองในประเทศไทย พ.ศ. 2548-2553*-*

วิกฤตการณ์การเมืองในประเทศไทย พ.ศ. 2548-2553 เป็นชุดเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน โดยเป็นความขัดแย้งระหว่างกลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมืองเพื่อต่อต้านและสนับสนุนอดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งวิกฤตการณ์ดังกล่าวทำให้เกิดข้อสงสัยเกี่ยวกับเสรีภาพสื่อ[1][2][3] เสถียรภาพทางการเมืองในไทย[4] รวมทั้งยังสะท้อนภาพความไม่เสมอภาคและความแตกแยกระหว่างชาวเมืองและชาวชนบท[5] การละเมิดอำนาจ[6] และผลประโยชน์ทับซ้อน ซึ่งได้บั่นทอนการเมืองไทยมาเป็นเวลาช้านาน
ในปี 2548 ได้มีการเคลื่อนไหวของฝ่ายซึ่งมีความเห็นว่า พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร หัวหน้า
พรรคไทยรักไทย ควรออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี นำโดยนายสนธิ ลิ้มทองกุล จนกระทั่งลงเอยด้วยเหตุการณ์รัฐประหาร ส่งผลให้ฝ่ายทหาร คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) นำโดย พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ก้าวขึ้นสู่อำนาจ และเข้ามามีบทบาททางการเมือง ส่งผลให้ไทยอยู่ภายใต้การปกครองของรัฐบาลทหาร ซึ่งมี พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์เป็นนายกรัฐมนตรี ระหว่าง พ.ศ. 2549-2550
ต่อมา ผลการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2550 พรรคพลังประชาชน ซึ่งถูกมองว่าเกี่ยวข้องทางผลประโยชน์ของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ชนะการเลือกตั้งและจัดตั้งรัฐบาลผสม ทำให้กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) ซึ่งเคยดำเนินการเคลื่อนไหวก่อนเหตุการณ์รัฐประหาร กลับมาชุมนุมอีกครั้ง เพื่อกดดันให้นายกรัฐมนตรี นายสมัคร สุนทรเวชและนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ออกจากตำแหน่ง ก่อนจะสลายการชุมนุมเมื่อศาลรัฐธรรมนูญพิพากษายุบพรรคพลังประชาชน
ผล
การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรี ธันวาคม พ.ศ. 2551 ปรากฏว่า นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านในสมัยรัฐบาลทักษิณ สมัครและสมชาย หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ทำให้กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ แดงทั้งแผ่นดิน (นปช.) ดำเนินการชุมนุมเพื่อกดดันให้นายอภิสิทธิ์ออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ซึ่งวิกฤตการณ์ดังกล่าวยังคงดำเนินต่อไปโดยไม่มีทีท่าว่าจะยุติ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น