วันอาทิตย์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2553

" ไอศกรีมดอกไม้ไทย "






" ไอศกรีมดอกไม้ไทย "
ไอกรีม ดอกไม้ เป็นนวัตกรรมจากดอกไม้อัมพวา 5 ชนิด คือ ดาหลา เข็ม กุหลาบมอญ บัว และอัญชัน ซึ่งเป็นดอกไม้พื้นบ้าน ที่มีพบเห็นได้ทั่วไปในอำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสาคร และผู้ที่ได้มีโอกาสเดินทางไปเที่ยวตลาดน้ำอัมพวา ก็คงจะได้ลองลิ้มชิมรสชาติกันมาแล้ว
ที่มาของไอศกรีมดอกไม้สด มาจากความตั้งใจของสองพี่น้อง ที่ไม่ได้หยุดคิดที่จะพัฒนาสินค้าตัวใหม่ จนได้มาพบกับ “อาจารย์อัจฉรา แก้วน้อย” จากมหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ซึ่งได้คิดค้นการทำสารสกัดเข้มข้นจากดอกไม้ ร่วมกับนักศึกษา สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร โดยได้รับทุนวิจัยตามโครงการ IRPUS ของสกว. ซึ่งทางมหาวิทยาลัย ให้ความสนใจเลือกผลิตภัณฑ์ไอศกรีมของเรามาพัฒนาเป็นไอศกรีมดอกไม้ไทย
“ทางอาจารย์อัจฉรา ได้ให้เราเลือกดอกไม้ชนิดใดชนิดหนึ่ง หรือ จำนวน 3 ชนิด เพื่อนำมาทำไอศกรีม แต่เนื่องจากเราต้องการให้เกิดความหลากหลายแก่ผู้บริโภค เราจึงขอเลือกดอกไม้ทั้ง 5 ชนิด โดยในครั้งแรกได้มีการทดลองนำมาทำไอศกรีมใน 3 รูปแบบ คือ โยเกิร์ต เชอร์เบต และ นม เพื่อทดลองดูว่าสารสกัดเข้มข้นจากดอกไม้ เข้ากับ ไอศกรีมในรสชาติใดได้บ้าง”
ทีมงานอาจารย์ และนักศึกษาได้ทดลองทำไอศกรีมทั้ง 3 สูตร เพื่อให้เรานำไปให้ลูกค้าได้ทดลองชิมว่าชื่นชอบไอศกรีมดอกไม้ในรสชาติแบบไหน และเนื่องจากดอกไม้ส่วนใหญ่จะไม่มีรสชาติที่โดดเด่น จึงต้องมีส่วนผสมอื่น ๆ ที่สามารถไปด้วยกันได้กับดอกไม้ทั้ง 5 ชนิด เพื่อทำให้ไอศกรีมมีรสชาติที่ดี นอกเหนือจากความแปลกใหม่ ซึ่งความแปลกใหม่ นั้นอาจจะเรียกลูกค้าให้มาทดลองชิมในช่วงแรก แต่ถ้ารสชาติไม่ดี ครั้งต่อไปก็คงจะขายไม่ได้
“เราพยายาม จะหาวิธีว่าเราจะใช้สารสกัดเข้มข้นจากดอกไม้อย่างไรให้เหมาะกับไอศกรีม ซึ่งได้มีพูดคุ๋ยกับทางทีมงานนักศึกษา และอาจารย์ มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ที่นำสารสกัดมาให้เราอยู่หลายครั้ง และได้ดึงจุดเด่นของดอกไม้แต่ละชนิดออกมา และนำมาพัฒนาที่ละตัว เริ่มจาก ดอกกุหลาบ อาจารย์เลือกใช้ดอกกุหลาบมอญ ซึ่งกุหลาบมีความโดดเด่นเรื่องกลิ่น เราก็เติมส่วนผสมของนมลงไป ซึ่งไอศกรีมกุหลาบที่ได้ จะมีโดดเด่นเรื่องกลิ่นของกุหลาบ บวกกับความหวานของนม ทำให้ได้ไอศกรีมที่มีเนื้อสัมผัสที่นุ่ม”
ดอกอัญชัน จะมีสีที่โดดเด่น เราเลือกใช้มะพร้าวน้ำหอมมาเป็นส่วนผสมของไอศกรีมดอกอัญชัน ซึ่งก็ไปด้วยกันได้ดี เพราะมะพร้าวน้ำหอมเพิ่มความหวานมันให้กับไอศกรีมดอกอัญชัน และมะพร้าวน้ำหอมก็ยังเป็นผลไม้ท้องถิ่นที่มีการปลูกในอัมพวาด้วย ส่วนดอกเข็ม จะมีความหวานของเกษรดอกเข็ม ผสมกับความเปรี้ยวของสตอเบอรี่เชอร์เบต และเติมความน้ำหวานของน้ำตาลสด ผลิตภัณฑ์พื้นบ้านของอัมพวาเข้าไป ทำให้ไอศกรีมดอกเข็มออกมาลงตัวที่สุดในขณะนี้ก็ว่าได้
สำหรับดอกบัว ทำจากสารสกัดเกสรดอกบัว และความมันของบัว และเมื่อเติมเม็ดบัวลงไปทำให้ไอศกรีมเม็ดบัวมีความหวานมันตามธรรมชาติ และดอกดาหลา นั้นมีความโดดเด่นเรื่องของรสชาติที่ออกเผ็ดร้อน และฝาด สุดท้ายเราก็เลือกไวน์ผลไม้มาเป็นส่วนผสม ซึ่งสารสกัดดอกดาหลา เมื่อนำมาทำไอศกรีมและผสมกับไวน์ผลไม้กลับไปด้วยกันได้ดี ลูกค้ากินแล้วชื่นชอบ เพราะได้รสชาติของไวน์ผลไม้ เป็นที่ชื่นชอบของลูกค้าผู้ชาย ที่ได้ชิม
ทั้งนี้ ไอศกรีมดอกไม้ทั้ง 5 ชนิด มีความแตกต่างกัน ทำให้สามารถสนองความต้องการของลูกค้าได้ครอบคลุมทุกกลุ่ม เช่น ไอศกรีมดาหลา จะเป็นที่ชื่นชอบของลูกค้าผู้ชาย ไอศกรีมดอกเข็มสตอเบอรี่ จะเป็นที่ชื่นชอบของลูกค้าผู้หญิง หรือ ถ้าเป็นไอศกรีมกุหลาบ และบัว จะมีความมันของนม และเม็ดบัว จะเป็นที่ชื่นชอบของวัยรุ่นและ ผู้ใหญ่ แต่ที่สำคัญ สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าในเทรนด์ของคนรักสุขภาพ เพราะสมุนไพรดอกไม้ ทั้ง 5 ชนิด ทางทีมงานวิจัยได้มีการส่งไปตรวจสอบในห้องทดลอง เพื่อตรวจสอบหาสารที่เป็นอันตราย จากสารเคมี หรือยาฆ่าแมลง และตรวจสอบหาสารที่เป็นประโยชน์ พบว่า ดอกไม้ทั้ง 5 ชนิดมี ไม่มีสารที่เป็นอันตราย และมีสารต้านอนุมูลอิสระในระดับที่ค่อนข้างสูง อีกทั้งยังป้องกันโรคความจำเสื่อม มะเร็ง และโรคหัวใจ ได้อีกด้วย

วันเสาร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2553

คำขวัญวันเด็กตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

- คำขวัญวันเด็กตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

พ.ศ. 2499 - จอมพล ป.พิบูลสงคราม : จงบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นและส่วนรวม
พ.ศ. 2502 - จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ : ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่รักความก้าวหน้า
พ.ศ. 2503 - จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ : ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่รักความสะอาด
พ.ศ. 2504 - จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ : ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่อยู่ในระเบียบวินัย
พ.ศ. 2505 - จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ : ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่ประหยัด
พ.ศ. 2506 - จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ : ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่มีความขยันหมั่นเพียรมากที่สุด
พ.ศ. 2507 : ไม่มีคำขวัญ เนื่องจากงดการจัดงานวันเด็กแห่งชาติ
พ.ศ. 2508 - จอมพล ถนอม กิตติขจร : เด็กจะเจริญต้องรักเรียนเพียรทำดี
พ.ศ. 2509 - จอมพล ถนอม กิตติขจร : เด็กที่ดีต้องมีสัมมาคารวะ มานะ บากบั่น และสมานสามัคคี
พ.ศ. 2510 - จอมพล ถนอม กิตติขจร : อนาคตของชาติจะสุกใส หากเด็กไทยแข็งแรงดีมีความประพฤติเรียบร้อย
พ.ศ. 2511 - จอมพล ถนอม กิตติขจร : ความเจริญและความมั่นคงของชาติไทยในอนาคต ขึ้นอยู่กับเด็กที่มีวินัย เฉลียวฉลาดและรักชาติยิ่ง
พ.ศ. 2512 - จอมพล ถนอม กิตติขจร : รู้เรียน รู้เล่น รู้สามัคคี เป็นความดีที่เด็กพึงจำ
พ.ศ. 2513 - จอมพล ถนอม กิตติขจร : เด็กประพฤติดีและศึกษาดี ทำให้มีอนาคตแจ่มใส
พ.ศ. 2514 - จอมพล ถนอม กิตติขจร : ยามเด็กจงหมั่นเรียน เพียรกระทำดี เติบใหญ่จะได้มีความสุขความเจริญ
พ.ศ. 2515 - จอมพล ถนอม กิตติขจร : เยาวชนฝึกตนดี มีความสามารถ
พ.ศ. 2516 - จอมพล ถนอม กิตติขจร : เด็กดีเป็นศรีแก่ชาติ เด็กฉลาดชาติเจริญ
พ.ศ. 2517 - นายสัญญา ธรรมศักดิ์ : สามัคคีคือพลัง
พ.ศ. 2518 - นายสัญญา ธรรมศักดิ์ : เด็กดีคือทายาทของชาติไทย ต้องร่วมใจร่วมพลังสร้างความสามัคคี พ.ศ. 2519 - หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช : เด็กที่ต้องการเห็นอนาคตของชาติรุ่งเรือง จะต้องทำตัวให้ดี มีวินัย เสียแต่บัดนี้
พ.ศ. 2520 - นายธานินทร์ กรัยวิเชียร : รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ เป็นคุณสมบัติของเยาวชนไทย
พ.ศ. 2521 - พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ : เด็กดีเป็นศรีแก่ชาติ เด็กฉลาดชาติเจริญ
พ.ศ. 2522 - พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ : เด็กไทยคือหัวใจของชาติ
พ.ศ. 2523 - พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ : อดทน ขยัน ประหยัด เป็นคุณสมบัติของเด็กไทย
พ.ศ. 2524 - พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ : เด็กไทยมีวินัย ใจสัตย์ซื่อ รู้ประหยัด เคร่งครัดคุณธรรม
พ.ศ. 2525 - พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ : ขยันศึกษา ใฝ่หาความรู้ เชิดชูชาติ ศาสน์ กษัตริย์ เป็นคุณสมบัติของเด็กไทย
พ.ศ. 2526 - พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ : รู้หน้าที่ ขยัน ซื่อสัตย์ ประหยัด มีวินัยและคุณธรรม
พ.ศ. 2527 - พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ : รักวัฒนธรรมไทย ใฝ่ดีมีความคิด สุจริตใจมั่น หมั่นศึกษา
พ.ศ. 2528 - พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ : สามัคคี นิยมไทย มีวินัย ใฝ่คุณธรรม
พ.ศ. 2529 - พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ : นิยมไทย มีวินัย ใช้ประหยัด ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม
พ.ศ. 2530 - พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ : นิยมไทย มีวินัย ใช้ประหยัด ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม
พ.ศ. 2531 - พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ : นิยมไทย มีวินัย ใช้ประหยัด ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม
พ.ศ. 2532 - พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ : รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม
พ.ศ. 2533 - พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ : รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม
พ.ศ. 2534 - พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ : รู้หน้าที่ มีวินัย ใฝ่คุณธรรม นำชาติพัฒนา
พ.ศ. 2535 - นายอานันท์ ปันยารชุน : สามัคคี มีวินัย ใฝ่ศึกษา จรรยางาม
พ.ศ. 2536 - นายชวน หลีกภัย : ยึดมั่นประชาธิปไตย ร่วมใจพัฒนา รักษาสิ่งแวดล้อม
พ.ศ. 2537 - นายชวน หลีกภัย : ยึดมั่นประชาธิปไตย ร่วมใจพัฒนา รักษาสิ่งแวดล้อม
พ.ศ. 2538 - นายชวน หลีกภัย : สืบสานวัฒนธรรมไทย ร่วมใจพัฒนา รักษาสิ่งแวดล้อม
พ.ศ. 2539 - นายบรรหาร ศิลปอาชา : มุ่งหาความรู้ เชิดชูความเป็นไทย หลีกไกลยาเสพติด
พ.ศ. 2540 - พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ : รู้คุณค่าวัฒนธรรมไทย ตั้งใจใฝ่ศึกษา ไม่พึ่งพายาเสพติด
พ.ศ. 2541 - นายชวน หลีกภัย : ขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ มีวินัย พ.ศ. 2542 - นายชวน หลีกภัย : ขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ มีวินัย
พ.ศ. 2543 - นายชวน หลีกภัย : มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ คู่คุณธรรม นำประชาธิปไตย
พ.ศ. 2544 - นายชวน หลีกภัย : มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ คู่คุณธรรม นำประชาธิปไตย
พ.ศ. 2545 - พันตำรวจโท ดร.ทักษิณ ชินวัตร : เรียนให้สนุก เล่นให้มีความรู้ สู่อนาคตที่สดใส
พ.ศ. 2546 - พันตำรวจโท ดร.ทักษิณ ชินวัตร : เรียนรู้ตลอดชีวิต คิดอย่างสร้างสรรค์ ก้าวทันเทคโนโลยี พ.ศ. 2547 - พันตำรวจโท ดร.ทักษิณ ชินวัตร : รักชาติ รักพ่อแม่ รักเรียน รักสิ่งดีๆ อนาคตดีแน่นอน
พ.ศ. 2548 - พันตำรวจโท ดร.ทักษิณ ชินวัตร : เด็กรุ่นใหม่ ต้องขยันอ่าน ขยันเรียน กล้าคิด กล้าพูด
พ.ศ. 2549 - พันตำรวจโท ดร.ทักษิณ ชินวัตร : อยากฉลาด ต้องขยันอ่าน ขยันคิด
พ.ศ. 2550 - พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ : มีคุณธรรมนำใจ ใช้ชีวิตพอเพียง หลีกเลี่ยงอบายมุข
พ.ศ.2551 - พลเอก สุรยุธ์ จุลานนท์ : สามัคคี มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ เชิดชูคุณธรรม
พ.ศ.2552 - นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ : ฉลาดคิด จิตบริสุทธิ์ จุดประกายฝัน ผูกพันรักสามัคี
พ.ศ.2553 - นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ : คิดสร้างสรรค์ ขยันใฝ่รู้ เชิดชูคุณธรรม

วันเสาร์ที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2553

วันที่ 5-7มกราคม 2553

**วันที่ 5-7มกราคม 2553**
**สอบกลางภาค**ของระดับชั้น ม.1 ,4 ,5 ,6
"ขอให้ทุกคนเตรียมตัวอานหนังสือ"

เกี่ยวกับประเทศฝรั่งเศส






**เกี่ยวกับประเทศฝรั่งเศส**


-ข้อมูลทั่วไป
-ประชากร
ประชากรจำนวน 62.2 ล้านคน (ปี 2005) ความหนาแน่นของประชากร 96 คนต่อตารางกิโลเมตร เมืองมีประชากรมากกว่า 100,000 คนมีถึง 57 เมือง
สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ
- พื้นที่เกษตรกรรมและทำป่าไม้มีประมาณ 48 ล้านเฮกตาร์ คิดเป็นร้อยละ 82 ของพื้นที่โดยรวมทั้งประเทศ (เฉพาะฝรั่งเศสส่วนภาคพื้นทวีป)
- พื้นที่ป่ามีประมาณร้อยละ 30 และนับว่ามีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ของสหภาพยุโรปรองจากสวีเดนและฟินแลนด์ ตั้งแต่ปี 1945 พื้นที่ป่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 46 และถ้าพูดถึงในช่วง 200 ปีที่ผ่านมา นับว่าเพิ่มขึ้นถึงเท่าตัว
- ฝรั่งเศสมีความแตกต่างไปจากประเทศอื่นๆในยุโรปเพราะมีพันธุ์ไม้มากถึง 136 ชนิด ในส่วนของสัตว์ใหญ่ก็เพิ่มจำนวนขึ้น ภายในช่วงระยะเวลา 20 ปี จำนวนของสัตว์ประเภทกวางเพิ่มขึ้นถึง 2-3 เท่า
ประเทศฝรั่งเศสให้ความสำคัญกับมรดกทางธรรมชาติและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ จึงได้มีการจัดตั้ง
- อุทยานแห่งชาติ 7 แห่ง
- ป่าสงวน 156 แห่ง
- เขตรักษาพันธุ์พืชและสัตว์ป่า 516 แห่ง
- รวมทั้งประกาศให้พื้นที่อีก 429 แห่งเป็นเขตอนุรักษ์อยู่ภายใต้การดูแลของสถาบันอนุรักษ์ชายฝั่งทะเล
- นอกจากนี้ยังมีอุทยานธรรมชาติตามภูมิภาคต่างๆ อีกกว่า 37 แห่ง
งบประมาณจำนวน 32 พันล้านยูโรได้รับการจัดสรรเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และเมื่อคิดเป็นค่าใช้จ่ายต่อประชากรจะเท่ากับ 516 ยูโร ทั้งนี้ 3 ส่วน 4 ของเงินข้างต้นจะเป็นค่าใช้จ่ายในเรื่องของการบำบัดน้ำเสียและการจัดการของเสียต่างๆกินพื้นที่กว่าร้อยละ 7 ของประเทศ
ในระดับนานาชาติ ฝรั่งเศสเป็นภาคีของสนธิสัญญาและอนุสัญญาทางด้านสิ่งแวดล้อมหลายฉบับ รวมทั้งอนุสัญญาของสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ความหลากหลายทางชีวภาพและการแปรสภาพเป็นทะเลทราย
พื้นที่
ฝรั่งเศสมีพื้นที่ 550,000 ตารางกิโลเมตร นับเป็นประเทศที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในยุโรปตะวันตก (ประมาณเกือบหนึ่งในห้าของพื้นที่ของสหภาพยุโรป) อีกทั้งยังมีพื้นที่ชายฝั่งทะเลที่กินอาณาบริเวณกว้างขวาง (เขตเศรษฐกิจจำเพาะมีพื้นที่ทั้งสิ้น 1ล้านตารางกิโลเมตร

-ภูมิประเทศและสภาพอากาศ
ภูมิอากาศ แบ่งเป็น 4 ฤดู คือ
ฤดูร้อน 22 มิถุนายน – 22 กันยายน อุณหภูมิเฉลี่ย 10 ถึง 25ฐ C
ฤดูใบไม้ร่วง 23 กันยายน – 21 ธันวาคม อุณหภูมิเฉลี่ย 0 ถึง 21ฐ C
ฤดูหนาว 22 ธันวาคม – 20 มีนาคม อุณหภูมิเฉลี่ย -1 ถึง 15ฐ C
ฤดูใบไม้ผลิ 21 มีนาคม – 21 มิถุนายน อุณหภูมิเฉลี่ย 1 ถึง 22ฐ c